วิธีการทำขนมของภาคเหนือ
ขนม
เทียน เป็นขนมที่ปรับปรุงขึ้นจากสูตรของชาวจีนโพ้นแผ่นดิน
แล้วนำมาดัดแปลงด้วยขนมท้องถิ่นของไทย
เปลี่ยนจากขนมใส่ไส้ที่ใช้แป้งข้าวเจ้าผสมกะทิ มาเป็นแป้งข้าวเหนียวแทน
มีความหมายหวานชื่นราบรื่น รูปลักษณ์เป็นกรวยแหลม
มีลักษณะเป็นมงคลเหมือนเจดีย์ มีวิธีทำอย่างไรไปชมกัน
ส่วนผสมไส้
- ถั่วเขียวฝ่าซีก 1 ถ้วย
- น้ำมันพืช 3 ช้อนโต๊ะ
- กระเทียมเจียว หรือ หอมแดงเจียว 1/4 ถ้วย
- รากผักชี 2 ราก
- เกลือ 1 ช้อนชา
- น้ำตาลปีบ 3 ชต.
- น้ำตาลทราย ตามชอบ
- พริกไทย ตามชอบ
ส่วนผสมแป้ง
- แป้งข้าวเหนียว 400 กรัม
- แป้งข้าวจ้าว 100 กรัม
- น้ำกระทิ 3 ถ้วย
- น้ำตาลปีบ 1 ถ้วย
(ถ้าจะทำขนมเข่งสีดำ ใช้แป้งข้าวเหนียวดำ 1 ถ้วย ผสมแป้งข้าวเหนียวขาว 3 ถ้วย)
วิธีทำ
1. เทแป้งใส่ชาม ละลายน้ำตาลบีบกับน้ำอุ่นเล็กน้อย แล้วค่อยนวดผสมไปกับแป้ง
2. ค่อยๆเทกระทิใส่แล้วนวดให้เข้ากัน ทิ้งไว้ 3-4 ช.ม.
3. นำถั่วเขียวซีกไปแช่น้ำไว้ 3 ชม.
4. นำถั่วไปนึ่งให้สุก
5. นำถั่วที่นึ่งสุกแล้วเข้าเครื่องบดให้ละเอียด พักไว้
6. ตั้งกะทะเจียวกระเทียมพอเหลือง
7. ใส่ถั่วที่เตรียมไว้(ข้อ.5)ในกะทะ ใส่น้ำตาล เกลือ พริกไทย ชิมรสตามชอบผัดไปจนแห้ง
8. นำมาปั้นเป็นก้อนกลม ขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่ ประมาณ 10 กรัม
9. นำแป้งที่หมักไว้(ข้อ.2)จนได้ที่แล้ว มาปั้นเป็นก้อน(ประมาณ 30 กรัม)ห่อไส้ที่เตรียมใว้
10. ห่อใบตองให้สวยงาม นำไปนึ่งด้วยไฟแรง 30 นาที
วิธีการห่อขนมเทียน
-
ทาน้ำมันบนใบตอง แล้วซ้อนใบตอง 2 ชั้น ทำเป็นรูปกรวย
ไส้แป้งที่ปั้นไว้ลงไป - ใช้นิ้วโป้งทั้ง 2 ข้าง
กดใบตองลงเพื่อให้แป้งลงไปในกรวย พร้อมทำท่าพนมมือ
(จะทำให้ขนมเทียนเป็นทรงพีระมิด)
- จากนั้นพับใบตองทั้ง 2 ข้างเข้าหากันให้เป็นปลายแหลม (ตัดใบตองไม่ดีจะมีปัญหาตรงนี้แหละ)
- พับใบตองกลับมาปิดฐานขนม จะเหลือปลายยื้นออกมา ให้ม้วนสอดเข้าช่องในฐานขนม
อ้างอิงที่ค้นหาhttp://www.thaicookingrecipe.com/food/42/%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%81.html
วิธีทำการทำขนมของภาคกลาง
ฝอยทองแพร่เข้ามาในประเทศไทยพร้อมกับทองหยิบและทองหยอด ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดย ดอนญ่า มารี กีมาร์ เดอปิน่า
(ท้าวทองกีบม้า, พ.ศ. 2202-2265) ลูกครึ่งโปรตุเกส-ญี่ปุ่น
ภริยาของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน)
ท้าวทองกีบม้ามีหน้าที่เป็นหัวหน้าห้องเครื่องต้น
เป็นผู้ทำอาหารเลี้ยงต้อนรับคณะราชทูตจากฝรั่งเศสที่มาเยือนกรุงศรีอยุธยาใน
สมัยนั้น
ส่วนผสม
1. ไข่เป็ด 20 ฟอง
2. ไข่ไก่ 10 ฟอง
3. น้ำค้างไข่ 3 ช้อนโต๊ะ
4. น้ำเชื่อมใช้น้ำตาลทราย 1 1/2 ก.ก.
5. น้ำลอยดอกมะลิ 6 ถ้วยตวง
วิธีทำขนมฝอยทอง
1. นำน้ำตาลทราย น้ำ ตั้งไฟพอเดือดน้ำตาลละลาย ยกลงกรองด้วยผ้าขาวบาง ตั้งไฟเคี่ยวต่อให้น้ำเชื่อมมีลักษณะไม่ข้น หรือใสเกินไป
2.
ตอกไข่ แยกไข่ขาวออกใช้แต่ไข่แดง
และเก็บน้ำไข่ขาวที่ใสไม่เป็นลิ่มเรียกว่าน้ำค้างไข่ เก็บไว้ต่างหาก
นำไข่แดงใส่ผ้าขาวบาง รีดเยื้อไข่ออก ผสมไข่แดงกับน้ำค้างไข่ตามส่วน
คนให้เข้ากัน
3. กระทะทองใส่น้ำเชื่อมเดือด ๆ
เตรียมไว้ทำกรวยด้วยใบตองหรือใช้กรวยโลหะใส่ไข่แดงโรยในน้ำเชื่อมเดือด ๆ
ไปรอบ ๆ ประมาณ 20-30 รอบ เส้นไข่สุกใช้ไม้แหลมสอยขึ้นจากน้ำเชื่อม
พับเป็นแพอบด้วยควันเทียนหลังจากเย็นแล้ว
อ้างอิงที่ค้นหา http://www.okthaifood.com/%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%9D%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87/
วิธีการทำขนมของภาคอีสาน
ข้าวโป่ง เป็นขนมพื้นบ้านภาคอีสาน นิยมในฤดูหนาวหลังจากเกี่ยวข้าวแล้ว
การทำเริ่มจากนำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วไปตำด้วยครกมอง
เมื่อละเอียดแล้วจะเอาใบตดหมูตดหมาหรือย่านพาโหมขยี้กับน้ำแล้วสลัดใส่ครก
เพื่อให้ข้าวเหนียวจับตัวกันดี
นำน้ำอ้อยโขลกแล้วตำผสมลงในครกจนเหนียวได้ที่
นำน้ำมันหมูทามือแล้วปั้นข้าวเหนียวเป็นก้อนผสมกับไข่แดง
กดก้อนข้าวเหนียวที่ปั้นให้เป็นแผ่นบางๆ แล้ววางบนใบตองที่ทาน้ำมันหมูแล้ว
ตากแดดให้แห้ง เมื่อจะรับประทานจึงเอามาปิ้งให้สุก
เครื่องปรุง / ส่วนผสม
ข้าวเหนียวสุก (ข้าวใหม่)
น้ำตาลทราย
ไข่ไก่ต้มสุก
น้ำมันหมู
งาดำ
ขั้นตอน / วิธีทำ
๑. นำข้าวเหนียวสุกใส่ครกกระเดื่องตำให้ละเอียด ผสมน้ำตาลทราย และงาดำ ตำต่อไปจนข้าวเหนียวสุกผสมกับน้ำตาลเป็นเนื้อเดียวกัน พักไว้
๒.
นำไข่ไก่ต้มสุกเลือกเฉพาะไข่แดงผสมกับน้ำมันหมูเป็นเนื้อเดียวกัน
นำไปทาบาง ๆ บนแผ่นพลาสติก นำแป้งจากข้อ ๑ ปั้นเป็นลูกกลม ๆ ประมาณไข่ไก่
วางลงบนแผ่นพลาสติกแล้วใช้ไม้รีดให้เป็นแผ่นบาง ๆ มน ๆ
แล้วลอกออกจากแผ่นพลาสติก นำไปผึ่งแดดประมาณ ๑ วัน
สามารถเก็บไว้รับประทานได้ ๓ สัปดาห์
๓. ย่างด้วยไฟอ่อน ๆ แป้งข้าวโป่งจะค่อย ๆ พองออก ลักษณะสีน้ำตาลอ่อนผสมสีขาว ให้รสชาติหอมหวาน
เทคนิคในการทำ (เคล็ดลับ)
- ไข่แดงจะทำให้ข้าวพองเวลาย่าง
- น้ำมันหมู จะทำให้เวลาปั้นแป้งไม่ติดมือ
อ้างอิงที่ค้นหา https://sites.google.com/site/saebxisan/xahar-hwan/khaw-pong
วิธีการทำขนมของภาคใต้
ขนมลา
เป็นขนมหวานพื้นบ้านของทางภาคใต้ ของประเทศไทย ซึ่งทำมาจากแป้งข้าวเจ้า
เป็นขนมสำคัญหนึ่งในห้าชนิดที่ใช้สำหรับจัดเพื่อนำไป
ถวายพระสงฆ์ในงานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ
ซึ่งเป็นงานบุญประเพณีที่สำคัญของจังหวัดในภาคใต้ เช่น จังหวัดสุราษฎร์ธานี
จังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลาโดยอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับ
ขนมลาปรุงขึ้นเพื่อเป็นเสมือนแพรพรรณเสื้อผ้า
ปัจจุบันขนมลามีจำหน่ายตลอด ทั้งปี
ไม่ปรุงเฉพาะในเทศกาลอย่างที่เคยปฏิบัติมา ขนมลามี 2
ชนิดคือลาเช็ดและลากรอบ ขนมลาเช็ดจะใช้น้ำมันน้อย โรยแป้งให้หนา
เมื่อสุกพับเป็นครึ่งวงกลม รูปร่างเหมือนแห ลากรอบ
นำลาเช็ดมาโรยน้ำตาลแล้วนำไปตากแดด ในปัจจุบันมีการทำลากรอบแบบใหม่
โดยเพิ่มแป้งข้าวเจ้าให้มากขึ้น ใช้น้ำมันมากขึ้น
เมื่อแป้งสุกแล้วม้วนเป็นแท่งกลม พักไว้จนเย็นจึงดึงไม้ออก
ประโยชน์
1. ขนมลา ให้โปรตีนจากแป้ง น้ำตาล และไข่แดง และมีส่วนประกอบของไขมันอยู่ ด้วย
2. เป็นขนมที่แสดงถึงศิลปะการผลิตที่ประณีตบรรจงอย่างยิ่งจากแป้งข้าวเจ้า ผสม น้ำผึ้ง แล้วค่อย ๆ ละเลงลงบนกระทะน้ำมันที่ร้อนระอุ กลายเป็นแผ่นขนมลาที่มีเส้นเล็กบางราว ใยไหม และสอดสานกันเป็นร่างแห
2. เป็นขนมที่แสดงถึงศิลปะการผลิตที่ประณีตบรรจงอย่างยิ่งจากแป้งข้าวเจ้า ผสม น้ำผึ้ง แล้วค่อย ๆ ละเลงลงบนกระทะน้ำมันที่ร้อนระอุ กลายเป็นแผ่นขนมลาที่มีเส้นเล็กบางราว ใยไหม และสอดสานกันเป็นร่างแห
ส่วนผสม
1. ข้าวสารเจ้า 1 1/2 ลิตร
2. ข้าวสารเหนียว 1/8 ลิตร
3. น้ำตาลทราย 1/2 กิโลกรัม
4. น้ำตาลปี๊บ 1/8 กิโลกรัม
5. น้ำมันสำหรับทากระทะ
2. ข้าวสารเหนียว 1/8 ลิตร
3. น้ำตาลทราย 1/2 กิโลกรัม
4. น้ำตาลปี๊บ 1/8 กิโลกรัม
5. น้ำมันสำหรับทากระทะ
เครื่องใช้เฉพาะ
ไข่ต้มใช้เฉพาะไข่แดง 1 ฟอง
กะลาหรือกระป๋องเจาะรูเล็ก ๆถี่ ๆ สำหรับโรยเส้น
ไม้แหลมสำหรับแซะขนม 2 อัน
กระทะก้นแบน (ถ้าไม่มีใช้กระทะก้นมนได้)
กะลาหรือกระป๋องเจาะรูเล็ก ๆถี่ ๆ สำหรับโรยเส้น
ไม้แหลมสำหรับแซะขนม 2 อัน
กระทะก้นแบน (ถ้าไม่มีใช้กระทะก้นมนได้)
วิธีการทำ
1. นำข้าวสารเจ้าและข้าวสารเหนียว ใส่ชามรวมกันซาวรวม กันให้ สะอาด แช่น้ำไว้ 3 ชั่วโมง
2. สงข้าวใส่ตะกร้าที่รองด้วยใบมะละกอ แล้วปิดด้วยใบ มะละกอ เช่น เดียวกัน วางตะกร้าในที่ร่ม ใช้น้ำราดเข้าเย็น ทุกวัน เพื่อให้ ข้าวเปื่อยยุ่ยทิ้งไว้ 3 วัน
3. นำข้าวใส่ครกตำให้ละเอียด หรือจะใช้โม่โม่ให้ละเอียดก็ได้ เมื่อละเอียดแล้วเติมน้ำ คนให้แป้งกระจายตัว กรองด้วยผ้า ขาวบาง แล้วตั้งทิ้งไว้ให้แป้งนอนก้น รินน้ำใสข้างบนออก ทิ้งไป ส่วนแป้งนั้นให้ใส่ห่อผ้าทับน้ำต่อจนแห้ง
4. เชื่อมน้ำตาลทรายและน้ำตาลปี๊บกับน้ำเล็กน้อย ให้เป็น น้ำเชื่อม ข้น ๆ วางพักไว้ให้เย็น
5. เติมน้ำเชื่อมลงในแป้งทีละน้อย นวดให้เข้ากัน ควร นวดนาน ๆ ประมาณ 20 นาที เติมน้ำเชื่อมต่อจนแป้งเหลว เมื่อยกมือขึ้น แป้งจะไหลเป็นสายไม่ขาดก็ใช้ได้
6. ตั้งกระทะบนไฟอ่อน ๆ ใชไข่แดงต้มผสมน้ำมันเช็ดกระทะ ให้ ทั่วเพื่อป้องกันขนม ติดกระทะ ถ้าขนมไม่ติดกระทะ แล้วใช้ น้ำมันเช็ดกระทะเพียงอย่างเดียว
7. เมื่อกระทะร้อน ตักแป้งใส่กะลา โรยเส้นลงบนกระทะโดย ส่ายกะลาให้เป็นวงกลม เมื่อเส้นซ้อนหนาพอควรจึงหยุด โรยพอ
8. เส้นสุกออกสีเหลืองนวล ใช้ไม้แซะพับเป็นรูปสี่เหลี่ยม นำขึ้นจากกระทะ
2. สงข้าวใส่ตะกร้าที่รองด้วยใบมะละกอ แล้วปิดด้วยใบ มะละกอ เช่น เดียวกัน วางตะกร้าในที่ร่ม ใช้น้ำราดเข้าเย็น ทุกวัน เพื่อให้ ข้าวเปื่อยยุ่ยทิ้งไว้ 3 วัน
3. นำข้าวใส่ครกตำให้ละเอียด หรือจะใช้โม่โม่ให้ละเอียดก็ได้ เมื่อละเอียดแล้วเติมน้ำ คนให้แป้งกระจายตัว กรองด้วยผ้า ขาวบาง แล้วตั้งทิ้งไว้ให้แป้งนอนก้น รินน้ำใสข้างบนออก ทิ้งไป ส่วนแป้งนั้นให้ใส่ห่อผ้าทับน้ำต่อจนแห้ง
4. เชื่อมน้ำตาลทรายและน้ำตาลปี๊บกับน้ำเล็กน้อย ให้เป็น น้ำเชื่อม ข้น ๆ วางพักไว้ให้เย็น
5. เติมน้ำเชื่อมลงในแป้งทีละน้อย นวดให้เข้ากัน ควร นวดนาน ๆ ประมาณ 20 นาที เติมน้ำเชื่อมต่อจนแป้งเหลว เมื่อยกมือขึ้น แป้งจะไหลเป็นสายไม่ขาดก็ใช้ได้
6. ตั้งกระทะบนไฟอ่อน ๆ ใชไข่แดงต้มผสมน้ำมันเช็ดกระทะ ให้ ทั่วเพื่อป้องกันขนม ติดกระทะ ถ้าขนมไม่ติดกระทะ แล้วใช้ น้ำมันเช็ดกระทะเพียงอย่างเดียว
7. เมื่อกระทะร้อน ตักแป้งใส่กะลา โรยเส้นลงบนกระทะโดย ส่ายกะลาให้เป็นวงกลม เมื่อเส้นซ้อนหนาพอควรจึงหยุด โรยพอ
8. เส้นสุกออกสีเหลืองนวล ใช้ไม้แซะพับเป็นรูปสี่เหลี่ยม นำขึ้นจากกระทะ
อ้างอิงที่ค้นหา http://www.bantaksin.dsdw.go.th/main/atclaa.php
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น